9/13/2553

โครงงาน ตำนานสุลต่าน สุไลมาน


.......

ย่าลืกดดูรูปาพด้วน๊าาา

โคงงา ตำานสุลต่า สุไลมาน
( ประวัติพรเจ้าเมืงสงขาที่ 1)

ความเป็นมาของโครงงาน

เนื่อง จากนักเรียนต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่อง ประวัติความเป็นมาของ หลุมฝังศพสุลต่าน สุไลมาน ซึ่ง สุลต่าน สุไลมาน เคยเป็นพระเจ้าเมืองสงขลาที่ 1 ที่เป็นผู้สร้างเมืองสงขลาริมเขาแดง จึงทำให้ เกิดโครงงานชิ้นนี้ขึ้นมา

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาค้นคว้าประวัติความเป็นมาของสุลต่าน สุไลมาน
2. เพื่อฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3. เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
4. เพื่อเรียนรู้ความเป็นมาของจังหวัด สงขลา

แผนผังโครงงาน

ชื่อเรื่อง
- โครงงาน ตำนานสุลต่าน สุไลมาน
ความเป็นมา
วัตถุประสงค์
แผนผังโครงงาน
ขั้นตอนการดำเนินการ
ผลของการศึกษา
ประโยชน์ของการศึกษา
วิธีการนำเสนอ
แหล่งอ้างอิง

ขั้นตอนการดำเนินงาน

1 วางแผนว่าต้องการจะศึกษาเรื่องอะไร
2. ศึกษาแหล่งข้อมูลสถานที่ที่เราต้องการที่จะศึกษาค้นคว้า
3. มอบหมายงานให้แก่เพื่อนในกลุ่ม
4. ไปศึกษาตามสถานที่ ที่เรากำหนด
5. รวบข้อมูล
6. จัดเข้ารูปเล่ม
7. นำเสนอ

ผลของการศึกษา

หลัง จากที่นักเรียนในกลุ่มได้ไปศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติหลุมฝังศพ สุลต่าน สุไลมานจากนั้นรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้ว มอบหมายให้สมาชิกทุกคนรับไปจัดพิมพ์เอกสารเนื้อหาทั้งหมด จากนั้นช่วยกันจัดเข้ารูปเล่ม ภายในเล่มประกอบด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติความเป็นมาของ สุลต่าน สุไลมาน

ประวัติความเป็นมาสุลต่าน สุไลมาน

พระ เจ้าเมืองสงขลา หรือ สุลต่าน สไลมาน เป็นเจ้าเมืองสงขลาสมัยอยุธยาระหว่างปี พ.ศ. 2162-2211 เป็นผู้สร้างเมืองสงขลาริมเขาแดง ซึ่งรุ่งเรืองอยู่ระหว่างครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 2 ถึงตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 23 ความรุ่งเรืองของเมืองสงขลายุคนี้ เกิดจากการขยายตัวทางด้านการค้าของดัตช์ อังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะบริเวณแหลมมาลายู และหมูเกาะอินโดนีเซียหรือเรียกกันสมัยนั้นว่า “หมู่เกาะอินเดียตะวันออก” เรื่องราวของเมืองสงขลายุคนี้ ส่วนใหญ่จึงปรากฏในเอกสารของชนชาติเหล่านั้น น่าแปลกใจที่ไม่มีเอกสารร่วมสมัยของฝ่ายไทยกล่าวถึงเรื่องนี้เลย มีเฉพาะพงศาวดารเมืองสงขลา ซึ่งเขียนขึ้นตอนต้นพุทธศตวรรษที่ 25 เท่านั้น ที่กล่าวไว้อย่างง่ายๆ ในเอกสารของชาวตะวันตก เรียกชื่อพระเจ้าเมืองสงขลาแตกต่างกัน เป็นต้นว่าของดัตช์ เรียกว่า “โมกุล” ของอังกฤษเรียกว่า “ดะโต๊ะ โมกอลล์) ในขณะที่ทางฝ่ายไทยโดยเฉพาะพงศาวดารเมืองสงขลา เรียกว่า “สุลต่าน สุเลมัน” และชาวเมืองสงขลารู้จักจากเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาว่า “สุลต่าน สุไลมาน”หรือ “ตามรหุม” ในบันทึกของพ่อค้าฝรังเศส ซึ่งเข้ามาติดต่อกับไทยในปี พ.ศ. 2270 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ หลังจากอยุธยาทำลายเมืองสงขลาแล้ว 7 ปีว่า พระเจ้าเมืองสงขลาเป็นแขกมาลายู ซึ่งตามความหมายของไทย ก็หมายถึง พวกมาเลย์บริเวณปลายแหลมมาลายู แต่ถ้าพิจารณาดูจากหลักฐานร่วมสมัยจริงๆ คือบันทึกของพ่อค้าชาวดัตช์แล้ว กลับกล่าวถึงไพล่พลของพระเข้าเมืองสงขลาในสมัยนี้ว่า “..มีกำลังกำยำล่ำสันชำนาญในการสู้รบ คุ้นเคยกับการใช้ปืน ทั้งปืนเล็กและปืนใหญ่..” กลุ่มชนชาวมาเลย์ที่มีลักษณะเช่นนี้ก็มีแต่พวกบูกิสหรือที่เรียกในพงศาวดาร ไทยว่า “พวกมักกะสัน” เท่านั้น พวกบูกิสมีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่หมู่เกาะซีลีเบส ได้ก่อตั้งอาณาจักรกัสซาร์ ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2054-2203 ทำการค้าเครื่องเทศบริเวณหมู่เกาะเครื่องเทศมาก่อน แต่หลังจากดัตช์ขับไล่อังกฤษและพ่อค้าชาวพื้นเมืองโดยเฉพาะพวกบูกิส ออกจากหมู่เกาะเครื่องเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2162 แล้ว พวกบูกิสบางส่วนจึงออกเร่ร่อนอยู่น่านน้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะพ่อ ค้า โจรสลัด และทหารรับจ้าง จึงเป็นไปได้อย่างมากที่เดียวที่พระเจ้าเมืองสงขลาและไพร่พลเป็นพวกบูกิสที่ หลบหนีการสู้รบมาตั้งมั่นที่เมืองสงขลา โดยมีพวกมาเลย์กลุ่มอื่นๆ ที่ต่อต้านการผูกขาดการค้าของดัตช์บริเวณหมู่เกาะร่วมด้วย กล่าวคือร่วมกันพัฒนาเมืองสงขลาขึ้นเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งใหม่ ที่อยู่ห่างจากศูนย์แห่งอำนาจของไทย ดัตช์และโปรตุเกส
จะ เป็นพวกบูกิสหรือไม่ก็ตาม แต่พระเจ้าเมืองสงขลาจะต้องเป็นแขกมาลายูและนับถือศาสนาอิสลาม เข้ามาสร้างเมืองอย่างน้อยตั้งแต่ พ.ศ. 2162 เป็นต้นมา โดยระยะแรกคือตั้งแต่ พ.ศ. 2162-2188 ในระยะ 23 ปี พระเจ้าเมืองสงขลายังเป็น “ข้าหลวงของพระเจ้ากรุงสยาม” อยู่ภายใต้การปกครองดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช และมีความใกล้ชิดเป็นกรณีพิเศษกับเจ้าหน้าที่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของ อังกฤษ นายจอห์น จอร์แดน เคยรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ของบริษัทอังกฤษ ที่กัลกัตตาในปี พ.ศ. 2126 ว่า “...เราเห็นว่าจะไม่เป็นการผิดหวัง หากคิดสร้างคลังสินค้าขนาดใหญ่ขึ้นที่สงขลา ซึ่งอยู่ไปทางเหนือของปัตตานี้เป็นระยะทางประมาณ 24 ลีก อยู่ภายใต้การปกครองของดะโต๊ะ โมกอลล์ ข้าหลวงของพระเจ้ากรุงสยาม ข้าพเจ้าคิดว่าเราอาจใช้สงขลาเป็นที่ตระเวนหาสินค้าจากบริเวณใกล้เคียง เพื่อจัดส่งให้ห้างของเราที่กรุงสยาม โคชินไชนา บอร์เนียวและญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี..เชื่อว่าต่อไปคงมีความจำเป็นที่จะต้อง จัดตั้งแหล่งพักสินค้าที่ขึ้นที่นี่เพราะค่าใช้จ่ายในปัตตานีแพงมาก ทั้งยังไม่ค่อยได้รับความสะดวกอีกด้วย การตั้งสินค้าขึ้นที่สงขลาเสียค่าโสหุ้ยน้อยกว่าที่ปัตตานี เพราะที่สงขลาไม่ต้องเสียภาษีอากรเลยเพียงแต่ยอมเสียของกำนัลให้แก่ ดะโต๊ะ โมกอลล์ เพียงเล็กน้อยก็อาจนำสินค้าผ่านไปได้..
จึง เป็นไปได้ว่าการก่อตั้งเมืองสงขลาครั้งนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างลับๆ จากเจ้าหน้าที่ของบริษัทอังกฤษ ซึ่งต้องการทำการค้าแข่งกับสถานีการค้าของบริษัทดัตช์ที่ปัตตานี หลังจากอังกฤษถูกขับไล่ออกจากหมู่เกาะเครื่องเทศในปี พ.ศ. 2175 เพราะปรากฏหลักฐานในระยะต่อมา เมืองสงขลาได้ชักชวนพ่อค่าต่างชาติ เข้าไปทำการค้าจนกิจการขยายออกใหญ่โตมาก ทำให้เจ้าหน้าที่บริษัทของดัตช์เริ่มกังวล จึงเดินทางไปยังเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อเจรจาผูกขาดการค้าในเมืองสงขลาและกีดกันอังกฤษ แต่ทางฝ่ายนครศรีธรรมราชได้ปฏิเสธอย่างแนบเนียน ดัตช์ไม่สามารถจะเข้าไปผูกขาดการค้าในเมืองสงขลาเพียงแต่ขอร้องให้เปิดเมือง สงขลาเป็นเมืองท่าเสรี ซึ่ง ทางฝ่ายไทยก็ไม่ขัดข้อง ระหว่างปี พ.ศ. 2164-2185 สภาพแวดล้อมหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าในกรุงศรีอยุธยา หรือบริเวณปลายแหลมมาลายูและหมู่เกาะ ล้วนเอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเมืองสงขลาทั้งสิ้น ระหว่างปี พ.ศ.2164-2166 อังกฤษและพ่อค้าชาวพื้นเมืองทั้งหมดถอนกิจการค้าจากหมู่เกาะเครื่องเทศดัตช์ กลายเป็นชาติที่มีอำนาจสูงสุดบริเวณหมู่เกาะ กีดกันต่างชาติโดยใช้นโยบายทำสัญญาผูกขาดการค้ากับผู้ผลิตชาวพื้นเมืองพ่อ ค้าต่างชาติบางส่วนจึงเข้ามาติดต่อค้าขายและตั้งถิ่นฐานในเมืองสงขลาเพิ่ม ขึ้นจากนโยบายการค้าเสรีในขณะเดียวกันทางฝ่าย
อยุธยา กำลังประสบปัญหายุ่งยากภายใน เนื่องจากการตั้งตนเป็นกษัตริย์ของเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ หรือพระเจ้าปราสาททอง ทางหัวเมืองภาคใต้เองก็วุ่นวายจากสงครามปราบกบฏเมืองนครศรีธรรมราชและ ปัตตานี ระหว่างปี พ.ศ. 2167-2177 สงครามที่เกิดในเมืองทั้งสองคงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้พ่อค้าต่างชาติ เข้ามาติดต่อเป็นลุกค้ากับเมืองสงขลามากขึ้น ขณะเดียวกันไพร่พลที่หลบหนีสงครามก็คงจะไปพึ่งผู้มีอิทธิพลคนใหม่คือพระเจ้า เมืองสงขลา จนเมืองสงขลาเข้มแข็งมั่งคงขึ้น
ในที่สุด พ.ศ.2185 พระเจ้าเมืองสงขลาถือโอกาส “ปลดแอกจากไทย” โดยไม่รทราบสาเหตุ กบฎเมืองสงขลาครั้งนั้นปรากฏในบันทึกของพ่อค้าฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาเมืองไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในปี พ.ศ. 2230 หลังจากอยุธยาทำลายเมืองนี้ไปแล้ว 7 ปี “...เมือปี พ.ศ.2185 มีแขกมาลายูคนหนึ่งได้ไปตั้งตัวเป็นใหญ่ที่เมืองสงขลาและได้กบฏต่อพระเจ้า กรุงสยาม แขกมาลายูที่ได้ทำป้อม คู ประตู หอรบ อย่างแข็งแรงแน่นหนา และในไม่ช้าก็ได้ชักชวนบรรดาพ่อค้าทั้งหลายให้ไปทำการค้าขายในเมืองสงขลา อย่างใหญ่โตมาก ฝ่ายไทยก็ยกกองทัพไปปราบหลายครั้ง แต่ก็แพ้มาทุกทุกคราวพอสักหน่อยแขกมาลายูนี้ก็ตั้งตนเป็นกษัตริย์เรียกกัน ว่า “พระเจ้าเมืองสงขลา”
พระ เจ้าเมืองสงขลาคนที่ 1 (พ.ศ.2185-2211) ปกครองเมืองสงขลาเป็นอิสระจากไทยนานถึง 26 ปี ตลอดรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง โดยที่ทางฝ่ายไทยต้องยอมรับรับอำนาจของพระเจ้าเมืองสงขลาในระยะต่อมา เพราะเมืองสงขลาในครั้งนั้นเป็นเมืองป้อมที่แข็งแกร่งคล้ายๆ กับบรรดาเมืองป้อมยุคเดียวกัน เช่น ปัตตาเวีย มะละกา เบนคูเลน เป็นต้น สงขลายังได้เปรียบที่มีทะเล ภูเขา และคลองขุดล้อมรอบเกือบทุกด้าน มีกำแพงเมืองและป้อมเมืองเรียงรายอยู่รอบเมือง ตัวเมืองไม่ใหญ่โตนักมีพื้นที่ภายในตัวเมืองเพียง 1 ตารางกิโลเมตรหรือ 625 ไร่เท่านั้น ขนาดเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราชยุคเดียวกัน ป้อมปราการที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน มีบางป้อมที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ทุกอย่าง ชี้ให้เห็นว่าเป็นสถาปัตยกรรมตะวันตกไม่ใช่ของเอเชีย ช่วงที่ก่อสร้างก็อาจจะเป็นอังกฤษหรือโปรตุเกส ความแข็งแกร่งของป้อมสามารถที่จะชี้เจตนาของผู้สร้างไว้ว่า ต้องการตั้งมั่นที่เมืองสงขลาอย่างถาวร
หลัง จากพระเจ้าเมืองสงขลาที่ 1 สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ.2211 โอรสได้สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าเมืองสงขลาที่ 2 (มุสตาฟาร์) พ.ศ.2211-2223 ระยะนี้เองที่เมืองสงขลาเริ่มแผ่แสนยานุภาพ ไปยังหัวเมืองใกล้เคียงโดยเฉพาะเมืองพัทลุงและปัตตานี มีหลักฐานยืนยันว่า สงขลาได้ทำสงครามยืดเยื้อกับปัตตานีเป็นเสลา 7-8 ปี คือระหว่างปี พ.ศ.2214-2221 ดังปรากฏในบันทึกของเจ้าหน้าที่บริษัทอังกฤษเมืองสุรัต ในอินเดียในช่วงเดียวกันว่า “...การศึกระหว่างราชาแห่งปัตตานีกับเจ้าเมืองสงขลา ยังคงดำเนินต่อไปแม้พระเจ้ากรุงสยามจะได้จัดส่งคณะราชทูต ไปเจรจาไกล่เกลี่ยให้ทั้ง 2 คืนดีกันก็ตาม เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพระองค์อยู่มากเพราะหากว่าทั้ง 2 เมืองยังไม่สามารถปรองดองกันได้แล้ว ก็จะไม่อาจขนสินค้าสินค้าจำพวกผ้า หรือช้างลงมาได้โดยปลอดภัย ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินกิจการค้าอย่างใหญ่หลวง ราชาแห่งปัตตานีนั้นไม่ประสงค์ที่จะสงบศึก เพราะยังเชื่อว่าตนมีไพร่พลมากมาย ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่ประสงค์จะสงบศึกด้วยเหมือนกัน แม้ว่าฝ่ายสงขลาจะมีไพร่พลถึง 1 ใน 4 ของอีกฝ่ายหนึ่งก็ตาม แต่มีไพร่พลที่มีพละกำลังล่ำสัน และชำนาญในการยุทธวิธีและคุ้นเคยกับการใช้ปืนมาก่อน ทั้งปืนขาดใหญ่และขนาดเล็ก แต่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นทหารส่วนมากเป็นทหารฝึกใหม่ การรบยืดเยื้อมาหลายปี ในปี พ.ศ. 2221 เมืองทั้งสอง ก็ยังมีภาวะสงครามต่อกัน”
การ เมืองบริเวณปลายแหลมมาลายู ระหว่างปี พ.ศ. 2185-2223 จึงมีลักษณะเป็นการถ่วงดุลอำนาจแบบ 3 เส้าระหว่างนครศรีธรรมราช มีอยุธยาเป็นฝ่ายอุปถัมภ์อยู่เบื้องหลังกับปัตตานีมีบริษัทดัตช์อยู่เบื้อง หลัง และสงขลาซึ่งอาจจะมีบริษัทอังกฤษอยู่เบื้องหลัง การถ่วงดุลแบบ 3 เส้า ดำเนินไปเกือบ 40 ปี โดยทางฝ่ายอยุธยาพยายามจะทำลายระบบดุลแห่งอำนาจดังกล่าวเมื่อโอกาสอำนวย เพื่อดึงเอาศูนย์อำนาจย่อยๆ เหล่านี้เข้าสู่ศูนย์แห่งพระบรมเดชานุภาพส่วนกลางตลอดมาตามระบบบรรณาการ
ในปี พ.ศ.2221 ปัตตานี ซึ่งปลีกตัวเป็นอิสระจากไทยนานกว่า 40 ปี ยอมอ่อนน้อมต่อไทยอีกครั้ง ทำให้ดุลแห่งอำนาจเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทางฝ่ายไทยถือโอกาสขณะที่เมืองสงขลาโดดเดี่ยว เพิ่มอิทธิพลของเมืองสงขลาลง โดยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้ส่งทหารเอกคู่ใจคือพระยารามเดโช ลงมาเสริมสร้างอำนาจในเมืองนครศรีธรรมราช ในฐานะเจ้าเมืองคนใหม่และเริ่มประสานกำลังกับส่วนกลางเข้าตีเมืองสงขลาในปี พ.ศ.2223 ซึ่งเข้าใจว่าคงได้รับการสนับสนุนจากปัตตานี คู่อริเก่าของเมืองสงขลาด้วย ทางฝ่ายสงขลาก็คงยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัทอังกฤษ กองทหารไทยจึงได้รับการต่อต้านอย่างเข้มแข็งในระยะแรก ต่อมาจึงหันไปใช้กลอุบาย กล่าวคือ แม่ทัพไทยลอบติดต่อเกลี้ยกล่อมผู้รักษาป้อมเมืองสงขลาคนหนึ่งได้สำเร็จ จึงสามารถเข้ายึดและเผารักษาป้อมเมืองสงขลาเสียย่อยยับ หลังจากเป็นอิสระอยู่นานถึง 38 ปี พระบรมเดชานุภาพแห่งกษัตริย์ไทยเริ่มแผ่ไปทั่วแหลมมาลายูอีกครั้ง หลังจากถูกบดบังมานาน การยึดและทำลายเมืองสงขลาครั้งนี้ มองซิเออร์ เวเรต์ พ่อค้าฝรั่งเศส ได้รายงานไปยังรัฐบาลของตนในปี พ.ศ. 2230 ว่า “...พระเจ้าเมืองสงขลา เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยู่จนสิ้นพระชนม์บุตรของพระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ได้ครอบ ครองเมืองสงขลาต่อไป ครั้นเมื่อ 6 ปีที่ล่วงมาแล้ว พระเจ้ากรุงสยามได้ส่งกองทัพเรือซึ่งมีเรือรบเป็นอันมาก ให้มาตีเมืองสงขลาอย่างสามารถ และได้จับตัวไปได้ ก็โดยที่ผู้รักษาการป้อมแห่งนี้ได้คิดประทุษร้ายคือ ไทยได้ล่อลวงเกลี้ยกล่อมให้ผู้รักษาป้อมนี้ เอาใจออกหางจากนายของตนแล้วไทยจึงได้เข้าในป้อม แล้วเอาดอกไม้เพลิงโยนเข้าไปในเมือง เพลิงได้ติดลุกลามไหม้วังของพระเจ้าเมืองสงขลาจนหมดสิ้น ในระหว่างที่เกิดชุลมุนกันในเมือง ช่วยกันดับเพลิงนั้น ไทยก็ได้ยกทัพเข้าไปในเมืองได้ ไทยจึงได้ทำลาย ป้อม คู หอรบ และบ้านเรือน จนเหลือแต่แผ่นดินเพราะเกรงจะมีคนอื่นมาตั้งมั่นคิดกบฏอีก” และด้วยเหตุผลข้างต้นนี้เอง พระเจ้าเมืองสงขลาจึงไม่ปรากฏชื่อในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับใดๆ เลย แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยขณะนั้นจงใจที่จะลืมเหตุการณ์เหล่านี้เสีย แม้แต่ชื่อของพระเจ้าเมืองสงขลา ก็ไม่มีบุตรหลานคนใดบันทึกไว้ นอกจากชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันรัฐบาลไทยเกือบจะผิดซ้ำสอง เมื่อยกเมืองสงขลาให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยพระนารายณ์ แต่นับว่าโชคดีของชาวสงขลาในครั้งนั้นเพราะฝรั่งเศสได้ปฏิเสธว่าเป็นเมือง ร้าง
สำนึกแห่งอดีตของสงขลา สมัยพระเจ้าเมืองสงขลาหรือสุลต่าน สุไลมาน จึงถูกลืมโดยจงใจจากส่วนกลาง แต่ความเปิดเผยและใจกว้างของเมืองสงขลายุคนั้น ทำให้โศนาฎกรรมที่พวกเขาได้รับแต่มีมีโอกาสบันทึกไว้ มีชาวต่างชาติในดินแดนอัสดงคตที่ห่างไกล ได้บันทึกไว้อย่างตรงไปตรงมา สำนึกแห่งอดีตเหล้านี้ ไม่ได้เป็นไปตามตำนานหรือวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับ “ตามรหุม” และ “ทวดหัวเขาแดง” ของชาวเมืองสงขลาอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นสำนึกแห้งอดีตที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีที่แล้ว สุสานสุลต่านสุไลมาน ซาร์ ตั้งอยู่ริมทางสายสิงหนคร-ระโนด ใกล้กับที่ว่าการอำเภอสิงหนคร มีลักษณะเป็นสุสานที่ทำศาลาครอบไว้ และมีจารึกภาษาอาหรับบอกไว้ว่า สุลต่านสุไลมานเป็นบุตรของดาโต๊ะโมกอลหรือโมกุล ซึ่งเป็นผู้สถาปนาเมืองสงเมืองสงขลาฝั่งเขาแดงและสุลต่านสุไลมานก็ได้เป็น ข้าหลวงใหญ่ในแผ่นดินสมัยกรุงศรีอยุธยา จนถึงสมัยพระเจ้าปราสาททองได้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบขึ้น สุลต่านสุไลมานจึงได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่า "พระเจ้าเมืองสงขลาที่ 1" และได้ประกาศเอกราชเป็นกบฏแข็งเมือง แต่ต่อมากรุงศรีอยุธยาได้ส่งทัพมาตีแตกเมื่อปี พ.ศ. 2223

ประโยชน์ของการศึกษา

ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวประวัติความเป็นมาของสุลต่าน สุไลมาน สามารถที่จะนำความรู้ไปเผยแพร่ได้ และยังทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สืบเนื่องไปยังการฝึกการทำงานเป็น

วิธีการนำเสนอ

- นำเสนอผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดย www.blogger.com
- นำเสนอเป็นรูปเล่มรายงาน

ความรู้สึกที่มีความรู้ต่อโครงงาน

1. ดีใจที่ได้ทำโครงงานนี้เพราะได้รู้ถึงประวัติของสุลต่าน สุไลมาน มากขึ้น
2. ดีใจมากที่ได้ทำโครงงานประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเจ้าเมืองสงขลาและได้รู้ความ เป็นมาเกี่ยวกับประวัติของสุลต่าน สุไลมานที่เรายังไม่ได้รู้
3. รู้สึกปราบปลื้มใจมากๆๆเพราะทำให้เราได้ประโยชน์จากจากไปทำโครงงานที่หลุม ฝังศพ สุลต่าน สุไลมานมากขึ้นทำให้ได้รู้ถึงประวัติมากขึ้นอีกด้วย
4. ดีใจมากที่ได้ทำโครงงานนี้ เพราะเราสามารถบอกถึงความเป็นมาของหลุมฝังศพ สุลต่าน สุไลมาน

แหล่งอ้างอิง

สารานุกรมวัฒนธรรมไทย –กรุงเทพ มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารพานิชย์ ,2542

วิธีการทางประวัติศาสตร์

ในการสืบค้น ค้นคว้าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีอยู่หลายวิธี เช่น จากหลักฐานทางวัตถุที่ขุดค้นพบ หลักฐานที่เป็นการบันทึกลายลักษณ์อักษร หลักฐานจากคำบอกเล่า ซึ่งการรวบรวมเรื่องราวต่างๆทางประวัติศาสตร์เหล่านี้ เรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์วิธีการทางประวัติศาสตร์ คือ การรวบรวม พิจารณาไตร่ตรอง วิเคราะห์และตีความจากหลักฐานแล้วนำมาเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบ เพื่ออธิบายเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตว่าเหตุใดจึงเกิดขึ้น หรือเหตุการณ์ในอดีตนั้นได้เกิดและคลี่คลายอย่างไร ซึ่งเป็นความมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์

ความสำคัญของวิธีการทางประวัติศาสตร์
สำหรับ การศึกษาประวัติศาสตร์นั้น มีปัญหาที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง คือ อดีตที่มีการฟื้นหรือจำลองขึ้นมาใหม่นั้น มีความถูกต้องสมบูรณ์และเชื่อถือได้เพียงใดรวมทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษรที่นำมาใช้เป็นข้อมูลนั้น มีความสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มีอยู่มากมายเกินกว่าที่จะศึกษาหรือจดจำได้ หมด แต่หลักฐานที่ใช้เป็นข้อมูลอาจมีเพียงบางส่วน ดังนั้น วิธีการทางประวัติศาสตร์จึงมีความสำคัญเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ศึกษา ประวัติศาสตร์ หรือผู้ฝึกฝนทางประวัติศาสตร์จะได้นำไปใช้ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง ไม่ลำเอียง และเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ

ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์ ::

ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
เป็น ขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น อย่างไร

ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล
หลัก ฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) การรวบรวมข้อมูลนั้น หลักฐานชั้นต้นมีความสำคัญ และความน่าเชื่อถือมากกว่าหลักฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจได้ง่ายกว่าหลักฐานชั้นรองในการ รวบรวมข้อมูลประเภทต่างๆดังกล่าวข้างต้น ควรเริ่มต้นจากหลักฐานชั้นรองแล้วจึงศึกษาหลักฐานชั้นต้น ถ้าเป็นหลักฐานประเภทไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ควรเริ่มต้นจากผลการศึกษาของ นักวิชาการที่เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ก่อนไปศึกษาจากของจริงหรือสถานที่จริงการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีควรใช้ ข้อมูลหลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าผู้ศึกษาต้องการศึกษาเรื่องอะไร ดังนั้นการรวบรวมข้อมูลที่ดีจะต้องจดบันทึกรายละเอียดต่างๆ ทั้งข้อมูลและแหล่งข้อมูลให้สมบูรณ์และถูกต้อง เพื่อการอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ

ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
วิพากษ์ วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอกการวิพากษ์หลักฐาน (external criticism) คือ การพิจารณาตรวจสอบหลักฐานที่ได้คัดเลือกไว้แต่ละชิ้นว่ามีความน่าเชื่อถือ เพียงใด แต่เป็นเพียงการประเมินตัวหลักฐาน มิได้มุ่งที่ข้อมูลในหลักฐาน ดังนั้นขั้นตอนนี้เป็นการสกัดหลักฐานที่ไม่น่าเชื่อถือออกไปการวิพากษ์ ข้อมูลหรือวิพากษ์ภายในการวิพากษ์ข้อมูล (internal criticism) คือ การพิจารณาเนื้อหาหรือความหมายที่แสดงออกในหลักฐาน เพื่อประเมินว่าน่าเชื่อถือเพียงใด โดยเน้นถึงความถูกต้อง คุณค่า ตลอดจนความหมายที่แท้จริง ซึ่งนับว่ามีความสำคัญต่อการประเมินหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เพราะข้อมูลในเอกสารมีทั้งที่คลาดเคลื่อน และมีอคติของผู้บันทึกแฝงอยู่ หากนักประวัติศาสตร์ละเลยการวิพากษ์ข้อมูลผลที่ออกมาอาจจะผิดพลาดจากความ เป็นจริง

ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐาน
การ ตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรม ต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตามในการ ตีความหลักฐาน นักประวัติศาสตร์จึงต้องพยายามจับความหมายจากสำนวนโวหาร ทัศนคติ ความเชื่อ ฯลฯ ของผู้เขียนและสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย เพื่อทีจะได้ทราบว่าถ้อยความนั้นนอกจากจะหมายความตามตัวอักษรแล้ว ยังมีความหมายที่แท้จริงอะไรแฝงอยู่

ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล
จัด เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นในขั้นตอนนี้ ผู้ศึกษาจะต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตีความมาวิเคราะห์ หรือแยกแยะเพื่อจัดแยกประเภทของเรื่อง โดยเรื่องเดียวกันควรจัดไว้ด้วยกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กัน เรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน จากนั้นจึงนำเรื่องทั้งหมดมาสังเคราะห์หรือรวมเข้าด้วยกัน คือ เป็นการจำลองภาพบุคคลหรือเหตุการณ์ในอดีตขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์และความต่อเนื่อง โดยอธิบายถึงสาเหตุต่างๆ ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และผล ทั้งนี้ผู้ศึกษาอาจนำเสนอเป็นเหตุการณ์พื้นฐาน หรือเป็นเหตุการณ์เชิงวิเคราะห์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการศึกษา

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4 - 7

พัฒนาการชาติไทยสมัยรัชกาลที่ 4-7

1. การจัดระเบียบการเมืองการปกครอง
- สมัยรัชกาลที่ 4ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

- สมัยรัชกาลที่ 5รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้
ก. การปฏิรูปการปกครอง1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ กรมมุรธาธิการ (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไป รวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)

2. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)

สาเหตุที่ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองใหม่ใน สมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตกข. ตั้งสภาที่ปรึกษา

รัชกาล ที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน พระองค์2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป
ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตยการเสนอคำ กราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบ การปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการ ให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน

- สมัยรัชกาลที่ 61. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง

สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบ ประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลา อันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จงตอบคำถามต่อไปนี้

การ เศรษฐกิจ- สมัยรัชกาลที่ 41. อังกฤษขอให้มีการแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ใหม่ ไทยจะไม่ยอมอังกฤษทำท่าว่าจะบังคับ2. ไทยทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ.2398 มีสาระสำคัญทางด้านเศรษฐกิจดังนี้2.1 พ่อค้าอังกฤษเข้ามาค้าขายในประเทศไทยได้โดยเสรีไม่ต้องผ่านคนกลาง2.2 ไทยเก็บภาษีขาเข้าได้ร้อยละ 3 สำหรับสินค้าขาออกใช้อัตราที่กำหนดไว้ในพิกัดต่อท้ายสัญญา2.3 ไทยให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับอังกฤษสนธิสัญญาเบาริ่งไม่ได้กำหนด เวลาเลิกใช้หรือเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงจะเปลี่ยนได้ก็ต่อเมื่อทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ

3. โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเริ่มเปลี่ยนแปลง จากการผูกขาดโดยพระคลังสินค้ามาเป็นแบบการค้าเสรี การค้าขายขยายตัวกว้างขวางยิ่งขึ้น4. ระบบการผลิตเริ่มมีการปรับปรุง จากการผลิตแบบยังชีพเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก5. มีการขุดคลองเพื่อการสัญจรและการค้า เช่น คลองผดุงกรุงเกษม คลองหัวลำโพง คลองดำเนินสะดวก คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ คลองเจดีย์บูชา
สมัย รัชกาลที่ 51. ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ.2416 เป็นสำนักงานกลางเก็บผลประโยชน์และรายได้ต่างๆ ของแผ่นดิน2. พ.ศ.2435 ให้ยกฐานะหอรัษฎากรพิพัฒน์เป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ3. พ.ศ.2439 กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรก เพื่อให้การยอมรับว่าเงินของแผ่นดินเป็นไปอย่างรัดกุมและเป็นระเบียบเรียบ ร้อย4. นำเงินส่วนพระองค์(ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)ที่เรียกกันว่าพระคลังข้าง ที่ออกจากพระคลังมหาสมบัติ และให้พระคลังข้างที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อไม่ให้เกิดการปะปนกับรายได้แผ่นดิน5. ยกเลิกเจ้าภาษีนายอากร แต่งตั้งข้าหลวงไปประจำทุกมณฑล6. ปรับปรุงการเงิน เดิมใช้เงินพดด้วงมาเป็นใช้ธนบัตรแทน ใช้เงินเหรียญและสตางค์แทนเงินปลีก (ใช้ระบบทศนิยมแบบมาตราเมตริก คือ 100 สตางค์ เป็น 1 สลึง..)7. ตั้งธนาคารเอกชนแห่งแรกชื่อบุคคลัภย์ ต่อมาเรียกชื่อว่าแบงค์สยามกัมมาจล ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)8. ส่งเสริมอาชีพราษฎร ตั้งกรมชลประทานดูแลและจัดหาน้ำ ตั้งกรมโลหะกิจ ดูแลเหมืองแร่ ตั้งกรมป่าไม้ดูแลป่าไม้ ด้านการสื่อสารตั้งกรมไปรษณีย์โทรเลข สร้างทางรถไฟ


- สมัยรัชกาลที่ 61.ตั้งธนาคารออมสิน2.ตั้งกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์3.ตั้งกรมสรรพากรและกรม ตรวจเงินแผ่นดินในตอนปลายรัชกาลฐานะการคลังของประเทศทรุดลงเนื่องจากสาเหตุ การเกิดอุทกภัยและเศรษฐกิจกระทบกระเทือนด้วยวิกฤตการหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)1.ประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเป็นผลมาจาก สงครามโลกครั้งที่ 12.รัชกาลที่ 7 ทรงแก้ปัญหาด้วยการใช้นโยบายประหยัดดังนี้2.1 ตัดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยทั้งส่วนของราชการและราชสำนัก2.2 ยุบรวมกระทรวง ทบวง กรม2.3 ปลดข้าราชการเป็นจำนวนมากเพื่อลดค่าใช้จ่าย 2. การสังคมและวัฒนธรรม

- สมัยรัชกาลที่ 41. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองสงฆ์ ร.ศ.121 เป็นฉบับแรก โดยมีสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และมีมหาเถรสมาคมเป็นที่ปรึกษา2. ทรงตระหนักถึงสถานการณ์ของประเทศไทยว่ากำลังถูกคุกคามจากชาติตะวันตก จึงดำริว่าไทยควรปรับปรุงขนบธรรมเนียมให้เป็นที่ยอมรับของชาวต่างชาติได้แก่ ก. โปรดให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้าข. โปรดให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าในงานพระราชพิธีด้วยค. ให้ยกเลิกประเพณีห้ามราษฎรเข้าเฝ้าเวลาเสด็จพระราชดำเนิน ทรงอนุญาตให้ราษฎรรับเสด็จได้โดยสะดวกง. ฟื้นฟูประเพณีตีกลองร้องฎีกา (มีกลองวินิจฉัยเภรีแขวนไว้ใครเดือดร้อนต้องการยื่นฎีกาให้มาตีกลอง)- สมัยรัชกาลที่ 5

1. ทรงตั้งสถานศึกษาสำหรับสงฆ์คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยหรือมหาธาตุวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฏราชวิทยาลัยสำหรับฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

2. ให้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โปรดให้ทูตานุทูตยืนเฝ้าถวายคำนับ

3. ประเพณีการสืบสันตติวงศ์

4. ทรงยกเลิกตำแหน่งวังหน้าหรือกรมพระราชวังบวรเมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ทิวงคต ทรงตั้งตำแหน่ง สยามมกุฏราชกุมารขึ้นแทน มกุฏราชกุมารพระองค์แรกคือสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ

5. ปรับปรุงประเพณีไว้ผมทรงมหาดไทย โดยให้ชายไทยในพระราชสำนักเลิกไว้ผมทรงมหาดไทย เป็นตัดผมยาวทรงดอกกระทุ่ม

6. ใช้แบบเสื้อราชประแตนและสวมหมวกอย่างยุโรปแต่ยังนุ่งผ้าม่วงอยู่

7. หลังจากกลับจากประพาสยุโรป สตรีไทยได้หันกลับไปนิยมแบบเสื้อของอังกฤษคือคอตั้งแขนยาว

8. ตอนปลายรัชกาลสตรีไทยนิยมนุ่งโจงกระเบน ชายนุ่งกางเกงแบบตะวันตก- สมัยรัชกาลที่ 6

1. ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง

2. กำหนดคำหน้านามว่า นาย นาง นางสาว เด็กชาย และเด็กหญิง

3. ออกพระราชบัญญัตินามสกุล

4 . ใช้พุทธศักราชเป็นศักราชทางราชการแทนการใช้รัตนโกสินทร์ศก

5. เปลี่ยนธงชาติจากธงช้างที่มีพื้นธงสีแดงล้วนและมีช้างเผือกอยู่ตรงกลางมาเป็น ธงไตรรงค์

6. เปลี่ยนการนับเวลาทางราชการโดยใช้เวลามาตรฐานตามเวลากรีนิชเป็นหลัก- สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)ยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 6

การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย

ภายหลังการปฏิรูปการปกครองและการ ปฏิรูปการศึกษาในรัชกาลที่ 5 พระองค์ได้มีกระแสความคิดที่จะให้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบการปกครองที่มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมาย สูงสุดในการปกครองประเทศ โดยมีรัฐสภาเป็นสถาบันหลักที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากขึ้นเป็น ลำดับ จนกระทั่งได้มีคณะนายทหารชุดกบฏ ร.ศ.130 ซึ่งมีความคิดที่ปฏิบัติการให้บรรลุความมุ่งหมายดังกล่าว แต่ไม่ทันลงมือกระทำการก็ถูกจับได้เสียก่อนเมื่อ พ.ศ.2454 ในต้นรัชกาลที่ 6 อย่างไรก็ตาม เสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ยังคงมีออกมาเป็นระยะๆ ทางหน้าหนังสือพิมพ์ แต่ยังไม่ผลต่อการเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก นอกจากการปรับตัวของรัฐบาลทางด้านการเมืองการปกครองให้ทันสมัยยิ่งขึ้นกว่า เดิมเท่านั้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ แต่ประการใด จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีคณะผู้ก่อการภายใต้การนำของ พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ซึ่งได้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นผลสำเร็จใน พ.ศ. 2475

ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย

สภาพการณ์โดยทั่วไปของบ้านเมืองก่อนเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

1.สภาพ การณ์ทางสังคมสังคมไทยกำลังอยู่ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ความทัน สมัยตามแบบตะวันตกในทุกๆ ด้าน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปแผ่นดินเข้าสู่ความทันสมัยในรัชกาลที่ 5 (พ.ศ.2411-2453) ความจริงแล้วสังคมไทยเริ่มปรับตัวให้เข้ากับกระแสวัฒนธรรมตะวันตกมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 4 ภายหลังได้ทำสนธิสัญญาบาวริงกับอังกฤษใน พ.ศ.2398 และกับประเทศอื่นๆในภาคพื้นยุโรปอีกหลายประเทศ และทรงเปิดรับรับประเพณีและวัฒนธรรมของตะวันตก เช่น การจ้างชาวตะวันตกให้เป็นครูสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระ บรมมหาราชวัง การให้ข้าราชการสวมเสื้อเข้าเฝ้า การอนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าพร้อมกับขุนนางข้าราชการไทยในงานพระบรม ราชาภิเษก เป็นต้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงดำเนินพระบรมราโชบายปลดปล่อยไพร่ให้เป็นอิสระและทรงประกาศเลิกทาสให้ เป็นไทแก่ตนเอง พร้อมกันนั้นยังทรงปฏิรูปการศึกษาตามแบบตะวันตก เพื่อให้คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาถึงขั้นอ่านออกเขียนได้และคิดเลขเป็น ไม่ว่าจะเป็นเจ้านาย บุตรหลานขุนนาง หรือราษฎรสามัญชนที่พ้นจากความเป็นไพร่หรือทาส ถ้าบุคคลใดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดก็จะมีโอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศตะวัน ตกโดยพระบรมราชานุเคราะห์จากผลการปฏิรูปการศึกษา ทำให้คนไทยบางกลุ่มที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตก เริ่มรับ เริ่มรับเอากระแสความคิดเกี่ยวกับการเมืองสมัยใหม่ ที่ยึดถือรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศมาจากตะวันตก และมีความปรารถนาที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกคราองเกิดขึ้นในประเทศไทย ดังจะเห็นได้จากคำกราบบังคมทูลถวายถึงความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ของคณะเจ้านายและข้าราชการใน พ.ศ.2427 (ร.ศ.103) หรือการเรียกร้องให้มีการปกครองในระบบรัฐสภาของ “เทียนวรรณ” (ต.ว.ส. วัณณาโภ) ในหน้าหนังสือพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นต้น และกระแสความคิดนี้ก็ดำเนินสืบเนื่องมาโดยตลอดในหมู่ผู้นำสมัยใหม่ที่ได้รับ การศึกษาจากประเทศตะวันตก และจากผู้ที่ได้รับการศึกษาตามแบบตะวันตกอย่างไรก็ตามกลุ่มผู้นำสมัยใหม่บาง ส่วนที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบราชการสมัยใหม่ที่ตนเองเข้าไปมีหน้าที่รับ ผิดชอบอยู่ ก็ถูกระบบราชการดูดกลืนจนปฏิเสธที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสมัย ใหม่ในระยะเวลาอันใกล้ เพราะมีความเห็นว่าประชาชนชาวไทยยังขาดความพร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงสมัย รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปประเทศเข้าสู่ความทันสมัย สังคมไทยก็เริ่มก้าวเข้าสู่ความมีเสรีในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยเริ่มเปิดโอกาสสื่อมวลชนเสนอความคิดเห็นต่อสาธารณชนได้ค่อนข้างเสรี ดังนั้นจึงปรากฏว่าสื่อมวลชนต่างๆ เช่น น.ส.พ.สยามประเภท, ตุลวิภาคพจนกิจ, ศิริพจนภาค, จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งตีพิมพ์จำหน่ายในรัชกาลที่ 5 น.ส.พ. บางกอกการเมือง ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 6 และ น.ส.พ.สยามรีวิว ซึ่งพิมพ์จำหน่ายในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เรียกร้องและชี้นำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไปสู่ระบบรัฐสภา โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นหลักในการปกครองประเทศอย่างต่อเนื่องอย่างไรก็ตาม เนื่องจากการปลดปล่อยไพร่และทาสให้เป็นอิสระในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ผ่านพ้นไปได้เพียง 20 ปีเศษ ดังนั้นสภาพสังคมส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของวัฒนธรรมในระบบเจ้าขุนมูลนาย นอกจากนี้คนส่วนน้อยยังคงมีฐานะ สิทธิ ผลประโยชน์ต่างๆ เหนือคนไทยส่วนใหญ่ คนส่วนใหญ่มักมีความเห็นคล้อยตามความคิดที่ส่วนน้อยซึ่งเป็นชนชั้นนำของ สังคมไทยชี้นำ ถ้าจะมีความขัดแย้งในสังคมก็มักจะเป็นความขัดแย้งในทางความคิด และความขัดแย้งในเชิงผลประโยชน์ในหมู่ชนชั้นนำของสังคมที่ได้รับการศึกษาจาก ประเทศตะวันตก มากกว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้นำของสังคมไทยกับราษฎรทั่ว ไป


2.สภาพการณ์ทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เริ่มมีการส่งข้าวออกไปขายยังต่างประเทศมากขึ้น เพราะระบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปและความต้องการของตลาดโลก ชาวนาจึงหันมาปลูกข้าวเพื่อส่งออกมาขึ้น ทำให้มีการปลูกพืชอื่นๆ น้อยลง ผลผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนก็ลดลงด้วยบางที่ก็เลิกผลิตไปเลย เพราะแรงงานส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการผลิตข้าวแทนสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงเห็นว่าถึงแม้รายได้ของแผ่นดินจะเพิ่มพูนมากขึ้นอันเป็นผลมาจาก ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนไป แต่การที่ระบบการคลังของแผ่นดินยังไม่รัดกุมพอ ทำให้เกิดการรั่วไหลได้ง่าย จังทรงจัดการปฏิรูปการคลังโดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ขึ้น เพื่อการปรับปรุงและการจัดระบบภาษีให้ทันสมัยใน พ.ศ.2416 มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติงบประมาณ พ.ศ.2434 เริ่มโครงการปฏิรูปเงินตราใหม่ พ.ศ.2442 จัดการส่งเสริมการเกษตรและการผลิตเพื่อการส่งออกให้มากขึ้น ปรับปรุงการคมนาคมให้ทันสมัยโดยการสร้างทางรถไฟ ตัดถนนสายต่างๆ ขุดคลอง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคมนาคม การขนส่งสินค้าและผลผลิต ซึ่งผลการปฏิรูปเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้รายได้ของประเทศเพิ่มมากขึ้น 15 ล้านบาทใน พ.ศ.2435 เป็น 46 ล้านบาทใน พ.ศ.2447 โดยไม่ได้เพิ่มอัตราภาษีและชนิดของภาษีขึ้นอย่างใด ทำให้เงินกองคลังของประเทศ ซึ่งเคยมีอยู่ประมาณ 7,500,000 บาท ใน พ.ศ.2437 เพิ่มเป็น 32,000,000 บาทใน พ.ศ.2444สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ.2453-2468) ได้มีการส่งเสริมธุรกิจด้านอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ กิจการไฟฟ้า มีการจัดตั้งบริษัทพาณิชย์นาวีสยาม ส่งเสริมด้านชลประทานและการบำรุงพันธุ์ข้าว จัดตั้งธนาคารออมสิน สร้างทางรถไฟเพิ่มเติมจากเดิม ทั้งนี้เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจที่เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น แต่เนื่องจากได้อุทกภัยใน พ.ศ.2460 และเกิดฝนแล้งใน พ.ศ. 2462 ทำให้การผลิตข้าวอันเป็นที่มาของรายได้หลักของประเทศประสบความเสียหายอย่าง หนัก ส่งผลกระทบต่อภาวะการคลังของประเทศอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับมาโดยตลอดระหว่าง พ.ศ.2465-2468สมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468-2475) พระองค์ได้ทรงแก้ปัญหาเศรษฐกิจอย่างเต็มพระสติกำลังความสามารถ โดยทรงเสียสละด้วยการตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่างแก่หน่วยราชการต่างๆ โดยโปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้านปี พ.ศ.2469 และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีศุลกากรใหม่หลายอย่าง ทำให้งบประมาณรายรับรายจ่ายเกิดความสมดุล พ.ศ.2472-2474 เศรษฐกิจโลกเริ่มตกต่ำอันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงส่งผลกระทบต่อประเทศโดยตรง ทำให้งบประมาณรายจ่ายสูงกว่ารายรับเป็นจำนวนมาก รัชกาลที่ 7 ได้ทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวดที่สุด รวมทั้งปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งเป็นจำนวนมากเพื่อการประหยัด ตลอดจนจัดการยุบมณฑลต่างๆทั่วประเทศ งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ ประกาศให้เงินตราของไทยออกจากมาตรฐานทองคำ และกำหนดค่าเงินตราตามเงินปอนด์สเตอร์ลิง รวมทั้งการประกาศเพิ่มภาษีราษฎรโดยเฉพาะข้าราชการซึ่งจะต้องเสียภาษีที่ เรียกว่า ภาษเงินเดือน แต่ถึงแม้ว่าจะทรงดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจด้วยการประหยัดและตัดทอน รายจ่ายต่างๆ รวมทั้งการเพิ่มภาษีบางอย่างแล้ว แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่ไดเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น


3.สภาพการณ์ทาง การเมืองสภาพการณ์ทางการเมืองและการปกครองของไทยกำลังอยู่ในระยะปรับตัวเข้า สู่แบบแผนการปกครองของตะวันตก เห็นได้จากพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ภายหลังที่ไทยได้มีการติดต่อกับประเทศตะวันตกอย่างกว้างขวาง นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-7สมัยรัชกาลที่ 4 ยังไม่ได้ทรงดำเนินนโยบายปรับปรุงการปกครองให้เป็นแบบตะวันตก แต่ก็ทรงมีแนวพระราชดำริโน้มเอียงไปในทางเสรีนิยม เช่น ประกาศให้เจ้านายและข้าราชการเลือกตั้งตำแหน่งมหาราชครูปุโรหิตและตำแหน่ง พระมหาราชครูมหิธร อันเป็นตำแหน่งตุลาการที่ว่างลง แทนที่จะทรงแต่งตั้งผู้พิพากษาตามพระราชอำนาจของพระองค์ และเปลี่ยนแปลงวิธีถวายน้ำพิพัฒน์สัตยา ด้วยการที่พระองค์ทรงเสวยน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนางข้าราชการและทรง ปฏิญาณความซื่อสัตย์ของพระองค์ต่อขุนนางข้าราชการทั้งปวงด้วยสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการเมืองการปกครองครั้งใหญ่ เพื่อให้การปกครองของไทยได้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับชาติตะวันตก โดยจัดตั้ง สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์ (Privy Council) ใน พ.ศ.2417 เพื่อถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินและในเรื่องต่างๆ ที่พระองค์ของคำปรึกษาไป นอกจากนี้พระองค์ยังทรงปฏิรูปการปกครองที่สำคัญคือ การจัดตั้งกระทรวงแบบใหม่จำนวน 12 กระทรวงขึ้นแทนจตุสดมภ์ในส่วนกลางและจัดระบบการปกครองหัวเมืองต่างๆในรูป มณฑลเทศาภิบาลในภูมิภาค โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2435 เป็นต้นมา นอกจากนี้พระองค์ทรงริเริ่มทดลองการจัดการปกครองท้องถิ่นในรูป สุขาภิบาล จัดตั้ง รัฐมนตรีสภา เพื่อทำหน้าที่ตามกฎหมาย ใน พ.ศ.2437 ตามแบบอย่างตะวันตกสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงริเริ่มทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยการจัดตั้ง ดุสิตธานี เมืองประชาธิปไตยขึ้นในบริเวณพระราชวังดุสิต พ.ศ.2461 เพื่อทดลองฝึกฝนให้บรรดาข้าราชการได้ทดลองปกครองตนเองในนครดุสิตธานี เหมือนกับการจดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เรียกว่า “เทศบาล” นอกจากนี้ยังทรงจัดตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่จากที่มีอยู่เดิม และยุบเลิกกระทรวงบางกระทรวงเพื่อให้มีความทันสมัยมากขึ้น โดยทรงจัดตั้งมณฑลเพิ่มขึ้นและทรงปรับปรุงการบริหารงานของมณฑลด้วยการยุบรวม มณฑลเป็นหน่วยราชการที่เกี่ยวกับการปกครองเรียกว่า มณฑลภาค เพื่อให้การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลมีความคล่องตัวมากขึ้นสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2468-2475) ทรงเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองให้ทันสมัย และต้องเตรียมการให้พร้อมเพิ่มมิให้เกิดความผิพลาดได้ โดยพระองค์ได้ทรงจัดตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เพื่อเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน พ.ศ.2468 และทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรีสภาวางระเบียบสำหรับจัดตั้งสภากรรมการองคนตรี เพื่อเป็นสภาที่ปรึกษาส่วนพระองค์อีกด้วยนอกจากนี้ทรงมอบหมายให้อภิรัฐมนตรี วางรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในรูปเทศบาล ด้วยการแก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลที่มีอยู่ให้เป็นเทศบาล แต่ไม่มีโอกาสได้ประกาศใช้ เพราะได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองขึ้นก่อน นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระยาศรีวิศาลวาจาและนายเรย์มอนด์ บี. สตีเวนส์ ซึ่งเป็นที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศช่วยกันร่างรัฐธรรมนูญ ตามกระแสพระราชดำริใน พ.ศ.2474 มีสาระสำคัญดังนี้อำนาจนิติบัญญัติจะมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทาง อ้อม โดยมีสมาชิก 2 ประเภท คือ มาจากการเลือกตั้งและการแต่งตั้ง ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์สมัครเลือกตั้งจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า30 ปี มีพื้นฐานความรู้อ่านออกเขียนได้ ส่วนอำนาจบริหารให้พระมหากษัตริย์ทรงเลือกนายกรัฐมนตรี แต่เนื่องจากอภิรัฐมนตรีมีความเห็นประชาชนยังไม่พร้อม ดังนั้นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญควรระงับไว้ชั่วคราว จนกระทั่งได้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียก่อนจึงมิได้มีการประกาศใช้แต่ อย่างใด


สาเหตุการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475

1.ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
2.การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตกของบรรดาชนชั้นนำในสังคมไทย
3.ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน
4.ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
5.สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา

บทบาทของสถาบันพระมหารกษัตริย์ในการพัฒนาชาติไทย

สถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาชาติไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังตัวอย่างที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

1. การป้องกันและรักษาเอกราชของชาตินับตั้งแต่อดีตพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะ จอมทัพ เป็นผู้นำในการทำสงครามเพื่อป้องกันบ้านเมืองและขยายอำนาจ เช่น สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสระภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อสร้างความ มั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากพม่าและทำสงครามเพื่อ สร้างความมั่นคงและขยายอำนาจของกรุงศรีอยุธยา หรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นผู้นำขับไล่พม่าหลังเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 และสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชก็ทรงเป็นแม่ทัพสำคัญมาตั้งแต่สมัยธนบุรี ทรงทำสงครามกับพม่า สงครามครั้งใหญ่ คือ สงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 แม่แต่ในสมัยที่ไทยเผชิญภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก ทั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวก็ทรงเป็นผู้นำในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อรักษาเอกราชของชาติ โดยใช้นโยบายทางการทูตสร้างความสัมพันธ์กับราชสำนักต่างชาติเมื่อเผชิญกับ ความขัดแย้งกับชาติตะวันตก เช่น รัฐบาลไทยใช้การเจรจาทางการทูตทั้งการเจรจาในเมืองไทยและในฝรั่งเศส ในกรณี ร.ศ. 112 โดยขุนนางไทยและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงเจรจากับฝรั่ง ด้วยพระองค์เอง เมื่อคราวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ. 2440นอกจากนี้ทรงผูกมิตรกับรัสเซีย เพื่อให้รัสเซียช่วยเจรจาไกล่เกลี่ยกับฝรั่งเศสอีกทางหนึ่ง และทรงยอมเสียดินแดนส่วนน้อยที่ไม่ใช่ดินแดนไทยเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ไว้ หรือในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศเข้าร่วมกับ ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1914 - 1918) และส่งทหารไทยไปยุโรปด้วย ทำให้ไทยได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมกับฝ่ายชนะสงคราม โดยได้ยกเลิกสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมที่เคยทำกับชาติตะวันตกไว้ในเวลาต่อมา

2. การสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการสร้างสรรค์ วัฒนธรรมไทยจัดว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาชาติไทยด้วยเช่นกัน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้1) ด้านประเพณีและพิธีสำคัญต่าง ๆ พระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์พระราชพิธีและขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาติไทยมาตั้งแต่อดีต ทั้งพระราชพิธีที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์โดยตรง เช่น พระราชพิธีราชาภิเษก พระราชพิธีของรัฐ เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และพระพระราชพิธีทางศาสนา เช่น พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทอดผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ล้วนมีพระมหากษัตริย์ดป็นผู้นำในการปฏิบัติ2) ด้านศาสนา พระมหากษัตริย์ไทยทุกยุคทุกสมัยเป็นองค์อุปถัมภ์และส่งเสริมการเผยแผ่พระ พุทธศาสนา ทั้งการสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน การสังคายนาพระไตรปิฏก การแต่งวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาที่ 1(ลิไทย) ทรงแต่งไตรภูมิพระร่วงหรือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสนับสนุนให้นักปราชญ์ราช บัณฑิตร่วมกันแต่งหนังสือเรื่องมหาชาติคำหลวงนอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ไทยทรงมีขันติธรรมทางศาสนา ทรงให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาแก่ราษฎร และทรงสนับสนุนศาสนาอื่น ๆ เช่น พระราชทานที่ดินให้สร้างเป็นโบสถ์คริสต์และมัสยิดในศาสนาอิสลามทั้งในสมัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์ เป็นต้น3) ด้านวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต ในอดีตราชสำนักเป็นศูนย์กลางประเพณีและวัฒนธรรม ชาวบ้านจะเรียนแบบการประพฤติปฏิบัติของชาววัง เช่น การแต่งกาย อาหารนับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะการรับวัฒนธรรมแบบตะวันตก เช่น การใช้ช้อนส้อม การนั่งโต๊ะ เก้าอี้ การแต่งกายแบบตะวันตก ทำให้วัฒนธรรมแบบใหม่แพร่หลายไปสู่ประชาชนครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏ เกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังเรื่องชาตินิยม ให้คนไทยมีความรักและจงรักภักดีต่อ "ชาติ ศาสน์ กษัตริย์" ซึ่งกลายเป็นคำขวัญมาจนถึงปัจจุบัน ทรงนำประเทศเข้าสู่สังคมนานาชาติในทางวัฒนธรรม โดยให้คนไทยมีนามสกุลเพื่อแสดงถึงความเป็นชาติที่มีอารยธรรม มีการใช้คำนำหน้าเด็ก สตรี บุรุษ ทรงเปลี่ยนการนับเวลาตามแบบสากล 24 นาฬิกา และทรงประดิษฐ์ธงชาติแบบใหม่ เรียกว่า "ธงไตรรงค์" ให้เหมือนกับธงที่ประเทศส่วนใหญ่ใช้กัน4) ด้านศิลปกรรม แบ่งออกเป็น4.1) ด้านวรรณกรรม พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถทางการประพันธ์ เช่น รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชนิพนธ์นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดน บทละครเรื่องรามเกียรติ์ รัชกาลที่ 2 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนา กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน รัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า ไกลบ้าน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย เช่น เทศนาเสือป่า นิทานทองอิน ศกุนตลา มัทนะพาธา รวมทั้งทรงแปลบทละครของวิเลียม เชกสเปียร์ เช่น เวนิสวานิช โรมิโอและจูเลียต รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก ทรงแปลเรื่องนายอินทร์ ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต (Tito) จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ เป็นต้น4.2) ด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม ผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่พระมหากษัตริย์ไทยหลายพระองค์โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นมีอยู่มากมาย เช่น ในสมัยอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระปรางค์วัดพุทไธสวรรย์ ตามแบบศิลปะลพบุรี สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชสมัยที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึง ปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ 3 องค์ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากศิลปะสุโขทัยส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมอันเป็นสมบัติของชาติมาถึง ปัจจุบัน โดยโปรดให้ถ่ายแบบพระบรมมหาราชวังที่กรุงศรีอยุธยามาสร้าง เช่น พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท นอกจากนี้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเรียงรายไว้รอบพระนคร ป้อมที่เหลือมาถึงปัจจุบัน คือ ป้อมพระสุเมรุและป้อมมหากาฬ รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างสวนขวาขึ้นในพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นที่ทรงพระสำราญและต้อนรับแขกเมือง ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนีที่วัดสุทัศนเทพวราราม รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างโลหะปราสาทที่วัดราชนัดดาราม และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างและซ่อมแซมพระราชวัง เช่น เปลี่ยนหลังคาพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทและเพิ่มการปิดทองเข้าไป รื้อประตูกำแพงวังเดิมเป็นประตูที่มียอดมณฑปเป็นไม้ เปลี่ยนเป็นประตูหอรบอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างป้อมปราการเพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่งป้อมที่ตั้งอยู่ทางปากอ่าวไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก จึงโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างตึกและพระที่นั่งทั้งแบบตะวันตก และประยุกต์ระหว่างศิลปะไทยกับตะวันตก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระที่นั่งวิมานเมฆ เป็นต้นสำหรับงานประติมากรรมส่วนใหญ่จะโปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูป เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระศรีสรรเพชญ์ประดิษฐานไว้ในวิหารหลวง วัดพระศรีสรรเพชญ์ ในสมัยรัตนโกสินทร์ เช่น รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธธรรมิศราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม โดยทรงปั้นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระพุทธรูปบางประทานพร ภ.ป.ร. รวมทั้งทรงสร้างพระพิมพ์ส่วนพระองค์ คือ พระพิมพ์จิตรลดา เป็นต้นในด้านจิตรกรรม เช่น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้า ฯ ให้ช่างเขียนเขียนสมุดภาพไตรภูมิ เพื่อให้คนทั้งหลายประกอบความดีละเว้นความชั่ว รัชกาลที่ 3 ทรงให้การส่งเสริมช่างฝีมือทุกชาติ งานจิตรกรรมในรัชสมัยนี้จึงมีอยู่หลายแห่งที่มีการนำศิลปะจีนเข้ามาผสม เช่น ประตูพระที่นั่งอิศราวินิจฉัยในพระราชวังบวรสถานมงคล (พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร) มีการประดับลวดลายที่แตกต่างไปจากเดิม คือ มีลายต้นไม้ ดอกไม้ นก แมลง และกิเลน ซึ่งเป็นสัตว์ในตำนานของจีนปรากฏอยู่ด้วย ขณะเดียวกันก็มีการเขียนสีทอง ซึ่งดัดแปลงมาจากจิตรกรรมของไทยมีความโดดเด่น รวมทั้งรัชกาลที่ 9 ทรงวาดภาพฝีพระหัตถ์ ซึ่งมีทั้งแบบเหมือนจริง (Realism) แบบเอกซ์เพรสชันนิซึม (Expressionism) และแบบนามธรรม (Abstractionism)4.3 ด้านนาฏกรรมและการดนตรี นาฏกรรมของไทยเริ่มมีแบบแผนขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) โดยได้รับอิทธิพลมาจากละครหลวงของเขมรและโปรดให้มีการเล่นดึกดำบรรพ์ (ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นการแสดงโขน) จนกระทั่งถึงในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดการเล่นละครอย่างมาก จึงทรงส่งเสริมการละครจนมีความเจริญรุ่งเรืองครั้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำพม่าใน พ.ศ. 2310 การละครไทยเสื่อมโทรมลง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดเกล้า ฯ ให้นำละครหญิงของเจ้านครเมื่อคราวเสด็จลงไปปราบชุมนุมเจ้านครเข้ามาเป็นครู ฝึกร่วมกับพวกละครที่ทรงรวบรวมจากที่ต่าง ๆ ฝึกหัดเป็นละครหลวงขึ้นใหม่ ในสมัยรัตนโกสินทร์ นาฏกรรมได้รับการฟื้นฟูในสมัยรัชกาลที่ 1 และได้รับการส่งเสริมให้เจริญก้าวหน้า ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงฟื้นฟูท่ารำอย่างโบราณทั้งโขนและละคร และปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงส่งเสริมการละคร ซึ่งกลายเป็นต้นแบบทางการละาครที่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบันในด้านการดนตรี รัชกาลที่ 2 ทรงชำนาญการเล่นซอสามสาย ทรงใช้ซอที่พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" ประพันธ์เพลง "บุหลันลอยเลื่อน" หรือ บุหลันลอยฟ้า" ในสมัยรัชกาลที่ 7 ทรงประพันธ์เพลงราตรีประดับดาว และในสมัยรัชกาลที่ 9 ทรงประพันธ์เพลงพระราชนิพนธ์ไว้จำนวนมาก เช่น พรปีใหม่ ลมหนาว ใกล้รุ่ง สายฝน เป็นต้นกล่าวโดยสรุป ในประวัติศาสตร์ไทยมีประเด็นสำคัญหลายเรื่องที่น่าศึกษา เช่น ประเด็นเกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติไทย อาณาจักรโบราณในดินแดนไทยและอิทธิพลที่มีต่อสังคมไทย ปัจจัยที่มีผลต่อการสถาปนาอาณาจักรไทย สาเหตุและผลการปฏิรูป การปกครองบ้านเมือง การเลิกทาสและเลิกไพร่ การเสด็จประพาสยุโรปและหัวเมืองสมัยรัชกาลที่ 5 การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 บทบาทของสตรีไทยนอกจากนี้อ ตลอดประวัติศาสตร์ไทยจะเห็นได้ว่าไทยเป็นชนชาติที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้ นำในการสร้างความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง รวมทั้งการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง

เวลา ความสำคัญของเวลาความสำคัญของเวลากับช่วงสมัยทางประวัติศาสตร์

เวลา ความสำคัญของเวลาความสำคัญของเวลากับช่วงสมัยทางประวัติศาสตร์

วัน เวลามีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนเรา วัน เวลา ทำให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นเมื่อวัน เดือน ปีใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อน เหตุการณ์ใดเกิดหลัง เหตุการณ์ที่เกิดขิ้นหรือดำเนินอยู่ในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร และวัน เวลาที่ผ่านไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไรนักประวัติศาสตร์หรือ ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งศึกษาเหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลกระทบถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันและอนาคตนั้น เมื่อศึกษาแล้วก็จะบอกเล่าเรื่องราวที่ตนศึกษาออกมา การบอกเล่าเรื่องราวในช่วงเวลาต่าง ๆ ต้องใช้คำที่เกี่ยวกับช่วงเวลา เช่น ศักราช วัน เดือน ปี ชั่วโมง นาที ยุค สมัย เพื่อให้รู้ว่าเรื่องราวนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด เหตุการณ์ใดเกิดก่อนเกิดหลัง และเหตุการณ์ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ดังนั้นประวัติศาสตร์จึงมีความสัมพันธ์กับเวลาอย่างยิ่ง

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

พัฒนาการชาติไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

สภาพทางการเมืองในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังคงรูปแบบของระบบประชาธิปไตยอันเป็นระบบการปกครองที่สืบทอดมาช้านาน การเปลี่ยนแปลงภายในตัวระบบอยู่ที่การปรับบทบาทของสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเป็นสถาบันสูงสุดที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ รูปแบบของสถาบ้นกษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คลายความเป็นเทวราชาลงเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็กลับเน้นคติและรูปแบบของธรรมราชาขึ้นแทนที่ อย่างไรก็ตาม อำนาจอันล้นพ้นของพระมหากษัตริย์ก็มีอยู่แต่ในทางทฤษฎี เพราะในทางปฏิบัติ พระราชอำนาจของพระองค์กลับถูกจำกัดลงด้วยคติธรรมในการปกครอง ซึ่งอิงหลักธรรมของพุทธศาสนา คือ ทศพิธราชธรรม กับอีกประการหนึ่ง คือ การถูกแบ่งพระราชอำนาจตามการจัดระเบียบควบคุมในระบบไพร่ ซึ่งถือกันว่า พระมหากษัตริย์คือมูลนายสูงสุดที่อยู่เหนือมูลนายทั้งปวง แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ก็มิอาจจะควบคุมดูแลไพร่พลเป็นจำนวนมากได้ทั่วถึง จึงต้องแบ่งพระราชอำนาจในการบังคับบัญชากำลังคนให้กับมูลนายในระดับรองๆ ลงมา ในลักษณะเช่นนั้น มูลนายที่ได้รับมอบหมายให้กำกับไพร่และบริหารราชการแผ่นดินต่างพระเนตรพระ กรรณ จึงเป็นกลุ่มอำนาจมีอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกลุ่มใดจะมีอำนาจเหนือกลุ่มใดก็แล้วแต่สภาพแวดล้อมของสังคมในขณะนั้น เป็นสำคัญการปกครองและการบริหารประเทศในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น กล่าวได้ว่า รูปแบบของการปกครอง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังคงยึดตามแบบฉบับที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงวางระเบียบไว้ จะมีการเปลี่ยนแปลงก็เพียงเล็กน้อย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๑ โปรดฯ ให้คืนเขตการปกครองในหัวเมืองภาคใต้กลับให้สมุหกลาโหมตามเดิม ส่วนสมุหนายกให้ปกครองหัวเมืองทางเหนือ ส่วนพระคลังดูแลหัวเมืองชายทะเล ในด้านระบบการบริหาร ก็ยังคงมีอัครมหาเสนาบดี ๒ ฝ่าย คือ สมุหนายกเป็นหัวหน้าฝ่ายพลเรือน ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือ และสมุหกลาโหม เป็นหัวหน้าราชการฝ่ายทหาร ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายใต้ ตำแหน่งรองลงมาคือ เสนาบดีจตุสดมภ์ แบ่งตามชื่อกรมที่มีอยู่คือ เวียง วัง คลังและ นา ในบรรดาเสนาทั้ง ๔ กรมนี้ เสนาบดีกรมคลังจะมีบทบาทและภาระหน้าที่มากที่สุด คือนอกจากจะบริหารการคลังของประเทศแล้ว ยังมีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลตะวันออก เสนาบดีทั้งหลายมีอำนาจสั่งการภายในเขตความรับผิดชอบของตน รูปแบบที่ถือปฏิบัติก็คือ ส่งคำสั่งและรับรายงานจากเมืองในสังกัดของตน ถ้ามีเรื่องร้ายที่เกิดขึ้น เสนาบดีเจ้าสังกัดจะเป็นแม่ทัพออกไปจัดการเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อย มีศาลของตัวเองและสิทธิในการเก็บภาษีอากรในดินแดนสังกัดของตน รวมทั้งดูแลการลักเลขทะเบียนกำลังคนในสังกัดด้วยการบริหารในระดับต่ำลงมา อาศัยรูปแบบการปกครองคนในระบบไพร่ คือ แบ่งฝ่ายงานออกเป็นกรมกองต่างๆ แต่ละกรมกอง มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการควบคุมกำลังคนในสังกัดของตน โครงสร้างของแต่ละกรม ประกอบด้วยขุนนางข้าราชการอย่างน้อย ๓ ตำแหน่ง คือ เจ้ากรม ปลัดกรม และสมุห์บัญชี กรมมีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กรมใหญ่มักเป็นกรมสำคัญ เจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์ถึงขนาดเจ้าพระยาหรือพระยากรมของเจ้านายที่มีความสำคัญ มากที่สุด ได้แก่ กรมของพระมหาอุปราช ซึ่งเรียกกันว่า กรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมของพระองค์มีไพร่พลขึ้นสังกัดมาก กรมของเจ้านายมิได้ทำหน้าที่บริหารราชการโดยตรง ถือเป็นกรมที่ควบคุมกำลังคนเป็นสำคัญ เพราะฉะนั้น การแต่งตั้งเจ้านายขึ้นทรงกรมจึงเป็นการให้ทั้งความสำคัญ เกียรติยศ และความมั่นคงเพราะไพร่พลในครอบครองเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจและความ มั่งคั่งของมูลนายผู้เป็นเจ้าของการบริหารราชการส่วนกลาง มีพระมหากษัตริย์เป็นมูลนายระดับสูงสุด เจ้านายกับขุนนางข้าราชการผู้บังคับบัญชากรมต่างๆ ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน ฐานะเป็นมูลนายในระดับสูง ช่วยบริหารราชการ โดยมีนายหมวด นายกอง เป็นมูลนายระดับล่างอยู่ใต้บังคับบัญชา และทำหน้าที่ควบคุมไพร่อีกต่อหนึ่ง การสั่งราชการจะผ่านลำดับชั้นของมูลนายลงมาจนถึงไพร่สำหรับการปกครองในส่วน ภูมิภาคหรือการปกครองหัวเมือง ขึ้นอยู่กับอัครมหาเสนาบดี ๒ ท่าน และเสนาบดีคลัง ดังได้กล่าวไว้ข้างต้น หัวเมืองแบ่งออกเป็นสองชั้นใหญ่ๆ ได้แก่ หัวเมืองชั้นในและหัวเมืองชั้นอก การแบ่งหัวเมืองยังมีอีกวิธีหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๔ ขั้น คือ เอก โท ตรี จัตวา ตามความสำคัญทางยุทธศาสตร์และราษฎรหัวเมืองชั้นใน เป็นหน่วยปกครองที่อยู่ใกล้เมืองหลวง มีเจ้าเมืองหรือผู้รั้ง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าปกครองดูแลหัวเมืองชั้นนอก มีทั้งหัวเมืองใหญ่ หัวเมืองรอง และหัวเมืองชายแดน หัวเมืองเหล่านี้ อยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมือง และข้าราชการในเมืองนั้นๆ
นโยบายที่ใช้ใน การปกครองหัวเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความกระชับยิ่งขึ้น กล่าวคือ รัชกาลที่ ๑ ได้ทรงออกพระราชกำหนดตัดทอนอำนาจเจ้าเมืองในการแต่งตั้งข้าราชการที่สำคัญๆ ทุกตำแหน่ง โดยโอนอำนาจการแต่งตั้งจากกรมเมืองในเมืองหลวง นับเป็นการขยายอำนาจของส่วนกลาง โดยอาศัยการสร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นกับเจ้านายทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งเจ้าเมือง และข้าราชการที่แต่งตั้งตนในส่วนกลาง ตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ต้องรายงานตัวต่อผู้ตั้งทุกปี ทั้งนี้เพื่อผลในการควบคุมไพร่พลและเกณฑ์ไพร่มาใช้ เพราะฉะนั้น มูลนายในเมืองหลวงจึงได้ควบคุมสัสดีต่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด

ส่วนการ ปกครองในประเทศราช เช่น ลาว เขมร มลายู นั้น ไทยใช้วิธีปกครองโดยทางอ้อม ส่วนใหญ่จะปลูกฝังความนิยมไทยลงในความรู้สึกของเจ้านายเมืองขึ้น โดยการนำเจ้านายจากประเทศราชมาอบรมเลี้ยงดูในฐานะพระราชบุตรบุญธรรมของพระ มหากษัตริย์ในราชสำนักไทยหรือสนับสนุนให้มีการแต่งงานกันระหว่างเจ้านายทั้ง สองฝ่าย และภายหลังก็ส่งเจ้านายพระองค์นั้นไปปกครองเมืองประเทศราช ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกันขึ้นระหว่างกษัตริย์ไทยกับเจ้านายเมืองขึ้น การปกครอง หรือการขยายอำนาจอิทธิพลในอาณาจักรต่างๆ เหล่านี้ ฝ่ายไทยและประเทศราชไม่มีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ขึ้นกับอำนาจความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย เพราะฉะนั้น ในช่วงใดที่ประเทศอ่อนแอ เมืองขึ้นก็อาจแข็งเมืองหรือหันไปหาแหล่งอำนาจใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่ออำนาจตะวันออกแผ่อิทธิพลเข้ามาในดินแดนเอเซียอาคเนย์ ปัญหาเรื่องอิทธิพลในเขตแดนต่างๆ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเวลาทำความตกลงกัน

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินอย่างขนานใหญ่ ควบคู่ไปกับการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป การปฏิรูปเศรษฐกิจ ก็ได้แก่ การปรับปรุงระบบบริหารงานคลังและภาษีอากร ส่วนการปฏิรูปสังคมก็ได้แก่ การเลิกทาส การปฏิรูปการศึกษา รวมทั้งการปรับปรุงการสื่อสาร และการคมนาคม เป็นต้น

สำหรับมูลเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มีการปฏิรูปการปกครอง มีอยู่ ๒ ประการ คือ
๑.มูล เหตุภายใน ทรงพิจารณาเห็นว่าการปกครองแบบเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพทางการปกครองและทาง สังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ประเทศไทยมีประชากรเพิ่มขึ้น การคมนมคมและการติดต่อสื่อสารเริ่มมีความทันสมัยมากขึ้น การปกครองแบบเดิมจะมีผลทำให้ประเทศชาติขาดเอกภาพในการปกครอง ขาดประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและพัฒนาได้ยาก
๒.มูลเหตุภายนอก ทรงพิจารณาเห็นว่า หากไม่ทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมจะเป็นอันตรายต่อเอกราชของชาติ เพราะขณะนั้น จักวรรดินิยมตะวันตก ได้เข้ามาแสวงหาอาณานิคมในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนั้น แต่เดิมเราต้องยินยอมให้ประเทศตะวันตกหลายประเทศมีสิทธิภาพนอกอาณาเขตคือ สามารถตั้งศาลกงสุลขึ้นมาพิจารณาความคนในบังคับของตนได้ โดยไม่ต้องอยู่ใต้การบังคับของศาลไทย เพราะอ้างว่า ศาลไทยล้าสมัย

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน 6 วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7
ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ ได้ปรินิพพาน คือ ดับ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง 3 คราวคือ

1. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติ ที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี





2. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี หลังจากออกผนวชได้ 6 ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย


3. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ 45 ปี พระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย


นับ ว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก


ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ข อ ง วั น วิ ส า ข บู ช า ใ น ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ย
วัน วิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่าง มาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่าง มโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
สมัยสุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมากเพราะ พระสงฆ์ชาวลังกา ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย
ใน หนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุก หมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน พระมหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราช ดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระ อารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
ส่วนชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ บางพวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุ ยืนยาวต่อไป "
ใน สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา จนมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับ สมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่ โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศล เป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
การจัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชา ที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระ ราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑล จัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย

5/16/2553

การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากลและไทย

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
1 จุดมุ่งหมายในการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์เป็นยุคสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต และช่วยให้เข้าใจง่าย ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ตามแบบสากลแบ่งออกเป็น 2 สมัย ดังนี้

1.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรเหมือนตัวหนังสือขึ้นใช้ จึงยังไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร การศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์และตีความจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบ เช่น โครงกระดูกของมนุษย์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และเครื่องประดับที่ทำจากหินและโลหะ เป็นต้นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ชุด คือ ยุคหินและยุคโลหะ

1.1.1 ยุคหิน เริ่มเมื่อประมาณ 500,000 ถึง 4,000 ปี ล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ๆ ดังนี้

( 1 ) ยุคหินเก่า เป็นช่วงเวลาแรก ๆ ของมนุษย์ชาติ มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างเร่ร่อน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ จับปลา หาของป่ากินเป็นอาหาร อาศัยอยู่ในถ้ำ รู้จักใช้เครื่องมือที่ทำด้วยหินอย่างหยาบๆ และเขียนภาพตามฝาผนัง

( 2 ) ยุคหินกลาง มนุษย์ยังคงดำรงชีวิตเหมือนในยุคหินเก่า แต่รู้จักทำเครี่องมือเครื่องใช้สำหรับล่าสัตว์ด้วยหินที่ประณีตมากขึ้น และเริ่มรู้จักการอยู่รวมกลุ่มเป็นสังคมมากขึ้น

( 3 ) ยุคหินใหม่ มนุษย์มีความเจริญมากกว่ายุคก่อนๆ รู้จักตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งรู้จักการเพราะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับ และเครื่องมือล่าสัตว์หินขัด

1.1.2 ยุคโลหะ อยู่ในช่วงเวลาประมาณ 4,000 ถึง 1,500 ปีล่วงมาแล้ว แบ่งเป็น 2 ยุคย่อยๆ ดังนี้

( 1 ) ยุคสำริด มนุษย์รู้จักใช้โลหะสำริด (ทองแดงผสมดีบุก) ทำเครื่องมือเครื่องใช้และเครื่องประดับ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นกว่าในยุคหิน อาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น รู้จักปลูกข้าว และเลี้ยงสัตว์ ( หมูและวัว )

( 2 ) ยุคเหล็ก มนุษย์รู้จักนำเหล็กมาหลอมทำอาวุธ เครื่องมือ เครื่องใช้ ๆ แต่ยังคงดำรงชีวิตด้วยการเกสรกรรม มีการติดต่อขายระหว่างชุมชนต่าง ๆ ทำให้ความเจริญขยายตัวอย่างรวดเร็ว

2.2 สมัยประวัติศาสตร์ เป็นยุคสมัยที่มนุษย์รู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ มีการบันทึกเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ ความเชื่อ และกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เป็นลายลักษร มักพบอยู่ตามผนังถ้ำ แผ่นหิน แผ่นดินเหนียว และกระดาษ เป็นต้นชุมชนของมนุษย์ในภูมิภาคต่างๆ ก้าวเข้าสู่ “ สมัยประวัติศาสตร์ ” ในระยะเวลาไม่เท่ากัน เนื่องด้วยความสามารถของมนุษย์ในการส้างสรรค์อารยธรรมความเจริญมีแตกต่างกัน ดังนี้ สมัยประวัติศาสตร์ในทางสากล จึงแบ่งเป็น 3 ยุคย่อย ๆ ดังนี้

2.2.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่ความเจริญของแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ( อียิปต์โบราณ ) และอายธรรมกรีก โรมัน ตามลำดับ จนกระทั่งสิ้นสุดลงเมื่อกรุงโรม ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันถูกตีแตกโดยพวกอนารยชน ในปี พ.ศ. 1019

2.2.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังจากที่กรุงโรม ( จักรวรรดิโรมันตะวันตก ) ทุกพวกอนารยชนตีแตกในปี พ.ศ. 1019 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 1996 สมัยกลางจึงสิ้นสุดลง เมื่อชนชาติเติร์ก (Turk) ที่นับถือศาสนาอิสลามเข้าโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิล (จักรวรรดิโรมันตะวันออก)

2.2.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังจากที่กรุงคอนสติติโนเปิลถูกตีแตก เมื่อปี พ.ศ. 1996 เป็นต้นมา จนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488มีเหตุการณ์สำคัญในยุคประวัติศาสตร์สมัยใหม่หลายประการ อาทิเช่น การปฏิรูปศาสนา การเกิดลัทธิหรือแนวความคิดแบบเสรีนิยม ประชาธิปไตย และคอมมิวนิสต์ ทางด้านเศรษฐกิจ มีการขยายตัวทางด้านการค้าทางเรือสำเภา การแสวงหาดินแดนใหม่ และการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นต้น


การแบ่งยุคสมัยในประวัติศาสตร์ไทย
แบ่งกว้างๆเป็น 2 สมัย คือ
1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ( Prehistory ) แบ่งเป็น 2 ยุค คือ
1. ยุคหิน ( Stone Age)แบ่งเป็น 3 ยุค ย่อย ได้แก่
1.1 ยุคหินเก่าระหว่างประมาณ 800,000-10,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำหยาบๆ อาศัยตามถ้ำและเพิงผา ล่าสัตว์ จับปลา เก็บพืชผักผลไม้เป็นอาหาร ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง

1.2 ยุคหินกลางระหว่างประมาณ 10,000-6,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้ใช้เครื่องมือหินกะเทาะที่ทำประณีตขึ้นและมีขนาดเล็กลง ยังคงล่าสัตว์ เก็บพืชพรรณตามป่า

1.3 ยุคหินใหม่ระหว่างประมาณ 6,000-4,000 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้ใช้เครื่องมือหินขัด รู้จักเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา ทอผ้า ทำเครื่องจักรสาน ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีผู้ปกครอง มีการจัดพิธีศพ มีการค้าขายแลกเปลี่ยนและติดต่อกับชุมชนอื่น

2. ยุคโลหะ ( Metal Age )แบ่งเป็น 2 ยุคย่อย คือ

2.1 ยุคสำริดระหว่างประมาณ 4,000-2,500 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักถลุงแร่และใช้ประโยชน์จากสำริด มีการพัฒนาเทคนิคการทอผ้าและการทำเครื่องปั้นดินเผา เป็นสังคมเกษตรกรรม ชุมชนขยายใหญ่ขึ้น

2.2 ยุคเหล็ก ระหว่างประมาณ 2,500-1,500 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักถลุงเหล็กและนำมาหล่อหรือตีเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นสังคมเกษตรกรรมขนาดใหญ่และกลายเป็นเมือง


2.สมัยประวัติศาสตร์ ( History ) การแบ่งยุคสมัยประวัติศาสตร์ของไทย คือ การกำหนดช่วงเวลาเพื่อให้เข้าใจเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในดินแดนไทย โดยทั่วไปการกำหนดช่วงเวลาที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของช่วงสมัยใดสมัยหนึ่ง มักจะอ้างอิงเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงหรือเป็นจุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์ เช่น การขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์องค์ใดองค์หนึ่งจนถึงปีที่พระองค์สวรรคตหรือสิ้นอำนาจหรือแบ่งตามศูนย์กลางอำนาจการปกครอง เป็นต้นสมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งเป็นสมัยย่อยๆได้หลายแบบ เช่น


1. แบ่งตามราชธานีการแบ่งแบบนี้นำชื่อราชธานีของไทย ได้แก่ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์มาเป็นชื่อยุคสมัย เริ่มตั้งแต่เวลาของรัฐที่มีมาก่อน สุโขทัยให้เป็นสมัยก่อนสุโขทัยดังนี้

- สมัยก่อนสุโขทัย ( ราวพุทธศตวรรษที่ 12 - พุทธศตวรรษที่ 17 )

- สมัยสุโขทัย พ.ศ.1792 - พ.ศ.2006

- สมัยอยุธยา พ.ศ.1893 – 2310

- สมัยธนบุรี พ.ศ.2310 – 2325

- สมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน


2. การแบ่งตามราชวงศ์การแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมามีอำนาจการปกครองในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น สมัยอยุธยา แบ่งยุคสมัยตามราชวงศ์ได้ดังนี้
- สมัยราชวงศ์อู่ทอง พ.ศ.1893-1913 และ พ.ศ.1931-1952
- สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ พ.ศ.1913-1931 และ พ.ศ.1952-2112
- สมัยราชวงศ์สุโขทัย พ.ศ.2112-2172
- สมัยราชวงศ์ปราสาททอง พ.ศ.2172-2231
- สมัยราชวงศ์บ้านพลูหลวง พ.ศ.2231-2310


3. แบ่งตามพระนามพระมหากษัตริย์โดยใช้เกณฑ์การขึ้นครองราชย์องค์หนึ่งไปจนถึงการสิ้นพระชนม์ เช่น

-สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พ.ศ. 1822 ถึง พ.ศ.1841

-สมัยพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.2199 ถึง พ.ศ.2231

4. แบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองการแบ่งตามพัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง เช่น สมัยอยุธยาอาจแบ่งได้เป็น 3 ตอน คือ- สมัยอยุธยาตอนต้น พ.ศ.1893-1991

- สมัยอยุธยาตอนกลาง พ.ศ.1991-2231

- สมัยอยุธยาตอนปลาย พ.ศ.2231-2310


5. แบ่งตามลักษณะการปกครองเช่น สมัยรัตนโกสินทร์อาจแบ่งย่อยเป็น 2 ยุค คือ

- สมัยรัตนโกสินทร์ยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พ.ศ.2325 ถึง พ.ศ.2475

- สมัยรัตนโกสินทร์ยุคประชาธิปไตย พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน


6. แบ่งตามรัฐบาลหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้า จึงมีการแบ่งยุคสมัยตามคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศในช่วงเวลาต่างๆกัน เช่น

- สมัยรัฐบาลนาย ชวน หลีกภัย พ.ศ.2535-2538

- สมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา พ.ศ.2538-2539

- สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ พ.ศ. 2539-2540

- สมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย พ.ศ.2540-2544

- สมัยรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร พ.ศ. 2544-2549

- สมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ จุลานนท์ พ.ศ.2549 – ปัจจุบัน


7. แบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากลช่วงเวลาสมัยประวัติศาสตร์ตามหลักประวัติศาสตร์สากล นิยมแบ่งเป็น 4 สมัย คือ สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่และสมัยปัจจุบัน สมัยประวัติศาสตร์ไทยแบ่งตามแนวประวัติศาสตร์สากลได้ ดังนี้

- สมัยโบราณ ตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัยจนถึงสิ้นรัชกาลที่ 3 สมัยรัตนโกสินทร์

- สมัยใหม่ ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึง พ.ศ.2475 เป็นสมัยปรับปรุงประเทศ

- สมัยปัจจุบัน ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ถึงปัจจุบัน

การนับศักราช

การนับศักราชศักราช หมายถึง ปีที่กำหนดเอาเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งซึ่งสำคัญมากสำหรับจดจารึกไว้ศักราชที่มีกำหนดไว้มี คือ

พุทธศักราช (พ.ศ.)

รัตนโกสินทร์ศก ( ร.ศ.)

จุลศักราช (จ.ศ.)

คริสต์ศักราช(ค.ศ.)

มหาศักราช (ม.ศ.)

ศักราชเหล่านี้เริ่มต้นนับแตกต่างกันการที่จะเทียบศักราชได้จึงต้องนำเอาระยะต่างที่เริ่มนับมาบวกเข้าหรือลบออก ดังนี้ ระยะเวลาที่ต่าง

พุทธศักราช มากกว่า คริสต์ศักราช 543 ปี

พุทธศักราช มากกว่า มหาศักราช 621 ปี

พุทธศักราช มากกว่า จุลศักราช 1,181 ปี

พุทธศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 2,324 ปี

คริสต์ศักราช มากกว่า มหาศักราช 78 ปี

คริสต์ศักราช มากกว่า จุลศักราช 638 ปี

คริสต์ศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,781 ปี

มหาศักราช มากกว่า จุลศักราช 560 ปี

มหาศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,705 ปี

จุลศักราช มากกว่า รัตนโกสินทร์ศก 1,143 ปี

พุทธศักราช (พ.ศ.) เริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ซึ่งเดิมนับเอาวันเพ็ญ เดือน 6 เป็นวันเปลี่ยนศักราช ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงให้ถือเอาวันที่ 1 เมษายนแทน อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมารัชกาลที่ 8 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เสียใหม่โดยเริ่มนับตามสากลคือ วันที่ 1 มกราคม นับแต่ปี พ.ศ. 2483 เป็นต้นมา นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพุทธศาสนาโดยเฉพาะไทย และศรีลังกา

คริสต์ศักราช (ค.ศ.) เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีที่พระเยซูเกิดเป็น ค.ศ. 1 ซึ่งเวลานั้น พ.ศ. มีมาแล้วนับได้ 543 ปีการคำนวณเดือนของ ค.ศ. จะเป็นแบบสุรยคติ ดังนั้นวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคมของทุกปี

มหาศักราช (ม.ศ.)เริ่มนับเอาตั้งแต่ปีกษัตริย์ศักราชวงศ์พระองค์หนึ่งในประเทศอินเดียทรงมีชัยชนะเป็นมหาศักราชที่ 1วิธีการนับวันเดือนปีจะเป็นไปตามสุริยคติ โดยวันขึ้นปีใหม่จะเริ่มเมื่อ 1 เมษายนของทุกปี

จุลศักราช (จ.ศ.) เริ่มนับเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 1,181 ปี โดยนับเอาวันที่พระเถระพม่ารูปหนึ่งนามว่า "บุพโสระหัน " สึกออกจาก การเป็นพระมาเพื่อชิงราชบัล-ลังก์ การนับเดือนปีเป็นแบบทางจันทรคติ โดยจะมีวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่

รัตนโกสินทร์ ศก (ร.ศ.) ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ล่วงมาได้ 2,325 ปี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้บัญญัติขึ้น โดยเริ่มนับเอาวันที่รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร เป็น ร.ศ. 1 และวันเริ่มต้นปี คือวันที่ 1 เมษายน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลิกใช้ ร.ศ.)

วิธีการเทียบศักราช

พ.ศ. = ค.ศ. + 543 หรือ ค.ศ. = พ.ศ. - 543

พ.ศ. = ม.ศ. + 621 หรือ ม.ศ. = พ.ศ. - 621

พ.ศ. = จ.ศ. + 1,181 หรือ จ.ศ. = พ.ศ. - 1,181

พ.ศ. = ร.ศ. + 2,324 หรือ ร.ศ. = พ.ศ. - 2,324

แบบทดสอบหลังเรียน

http://quickr.me/TPfE53T